วิธีเดินทางไป ABAC (ม.อัสสัมชัญ บางนา) ฉบับคู่มือนักศึกษา

โพสต์เมื่อ : 31 ม.ค. 2565 35559
วิธีเดินทางไป ABAC (ม.อัสสัมชัญ บางนา) ฉบับคู่มือนักศึกษา

วิธีเดินทางไป ABAC (ม.อัสสัมชัญ บางนา) ฉบับคู่มือนักศึกษา

 

 

    การเดินทางที่สะดวกเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตของคนเราเลยก็ว่าได้ พี่ ๆ เคยงงงวยกันมั้ยคะ จะเดินทางไป ABAC (ม.อัสสัมชัญ) ยังไงดี ขึ้นรถตรงไหน ไปรถไฟฟ้าสายอะไร ลงสถานีไหน โอ๊ย เยอะแยะไปหมด! โดยเฉพาะพี่ ๆ ที่มาจากต่างจังหวัดมาเรียนต่อที่นี่ วันนี้น้อง Propso จะมาบอกวิธีการเดินทางไป ABAC ง่าย ๆ 4 วิธีกันค่า!

 

1. รถไฟฟ้า (BTS)

 

 

    หากขึ้นรถไฟฟ้า พี่ต้องลงสถานีอุดมสุข เพราะเป็นสถานีที่ใกล้ ABAC มากที่สุด แล้วออกประตูทางออกไปสี่แยกบางนา ต่อจากนั้นสามารถนั่งวินมอไซค์หรือรถเมล์เพียง 2 ป้าย ถึงสี่แยกบางนา แล้วต่อรถตู้ไปถึงมหาลัยอัสสัมชัญได้เล๊ย! (รถตู้มีเวลา 8.00 – 12.00 น.)

 

    Tips : หากมีเรียนเช้า น้อง Propso แนะนำให้ไปช่วงเวลา 8-9 โมงนะคะ รถจะออกเร็ว แต่ถ้าหลังจากนั้นรถตู้จะรอให้คนเต็มก่อนถึงจะออกรถ อาจจะไปเรียนไม่ได้ทันน้า เผื่อเวลานิดนึงค่า

 

2. รถตู้

 

 

    Mega Bangna Van รถตู้เมกะในมหาลัย (ราคา 35 บาท) รับส่งจากม.อัสสัมชัญถึงเมกะบางนา เริ่มวิ่งจากหอในม.อัสสัมชัญตั้งแต่ 11 โมง แต่ถ้าจะขึ้นจากเมกะบางนามาที่ม.อัสสัมชัญ สามารถขึ้นได้ที่บันไดเลื่อนหน้า Miniso แล้วยืนรอบริเวณลานจอดรถได้เลย

 

3. รถเมล์

 

 

    ถ้าหากเรามีเวลาหน่อย อยากชิว ๆ สบาย ๆ ขึ้นรถเมล์สาย 365 บางปะกง จะผ่านตรงหน้าปากซอยม.อัสสัมชัญพอดี สามารถต่อวินมอไซต์เข้ามหาลัยได้เลย สะดวกมาก ๆ

 

4. อื่น ๆ 

 

 

    วินมอไซค์ หรือแท็กซี่ ก็สามารถไปได้เช่นกันค่ะ แต่ค่าโดยสารจะขึ้นอยู่กับระยะทางด้วยนะคะ พี่ ๆ คนไหนที่ไม่ชอบขึ้นรถหลายต่อทางเลือกนี้ก็เหมาะมาก ๆ เลยค่า

 

    เกร็ดความรู้ : ที่มาของชื่อมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

    พี่ ๆ ทราบมั้ยคะว่า ชื่ออัสสัมชัญเป็นชื่อที่มีประวัติความเป็นมายังไง ในตอนแรกมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “Le Colle’ge de L’ Assomption” และมีชื่อภาษาไทยว่า “โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ” โดยมีคุณพ่อกอลเบต์เป็นผู้ตั้ง แต่คนทั่วไปมักจะเรียกชื่อผิดอยู่เสมอเลยล่ะค่ะ (ก็ชื่อออกจะออกเสียงยากไปหน่อยอะเนอะ) ดังนั้น เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2453 ภราดาฮีแลร์ ได้มีหนังสือไปถึงกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ เพื่อขอเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนอาศมชัญ” แต่ต่อมา พระยาวิสุทธิสุริยะศักดิ์ อธิบดีกรมศึกษาได้ตอบกลับว่า ควรเปลี่ยนชื่อเป็น อัสสัมชัญ เพราะได้เสียงใกล้เคียงเดิม และคงความหมายเดิมไว้ จึงได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมาค่ะ

 

    ซึ่งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญยังมีคติพจน์ประจำมหาวิทยาลัยว่า Labor Omnia Vincit มีความหมายว่า “อุปสรรคทั้งปวงสามารถเอาชนะได้ด้วยความอุตสาหะวิริยะ”

 

    ตรามหาวิทยาลัย

 

 

    พี่ ๆ หลายคนอาจจะพอคุ้นหน้าคุ้นตาตราประจำมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญกันมาบ้างแล้วใช่มั้ยคะ นั่นคือ โล่กรอบล้อมสัญลักษณ์ทั้งสี่ “COAT OF ARMS” เป็น HONOURS หมายถึง เกียรติประวัติ และคำยกย่องสรรเสริญ ที่สถาบันได้รับมาจากพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองอำนาจทั้งในและนอกประเทศ ดอกไม้และกิ่ง LAUREL หมายถึง ชัยชนะ และความสำเร็จ มีที่มาจากนักกีฬาที่มีชัยชนะจากการแข่งขันในสมัยโบราณที่เตือนใจให้ทุกคนกระทำความดี เพื่อเชิดชูและจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติยศและชื่อเสียงของสถาบันให้มั่นคง ไม่ให้เสื่อมสลายไป

 

    Brothers of St. Gabriel หมายถึง ภราดาคณะเซนต์คาเบรียลที่ยอมสละชีวิตและบ้านเกิดเมืองนอนของตนมาช่วยเผยแพร่ความรู้และความดีงามให้เด็กชาวไทย

 

    A.M. และช่อดอกลิลลี่สีขาว

 

 

    A.M. ย่อมาจาก ALMA MATER (ภาษาละติน) หมายความว่า สถาบันเปรียบประดุจบ้านเกิด จงรักสถาบันเปรียบประดุจผู้บังเกิดเกล้า นอกจากนี้ A.M. ยังย่อมาจาก AVE MARIA ซึ่งเป็นคำสดุดีของอัครเทวดา คาเบรียลหรือ เซนต์คาเบรียล ต่อพระมารดาของพระเยซูคริสต์ ซึ่งเป็นที่เทิดทูนของภราดาคณะเซนต์คาเบรียล ส่วนช่อดอกลิลลี่ที่ขาวบริสุทธิ์นั้น หมายความว่า เราจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา

 

    เรือใบหรือนาวา

 

 

    เปรียบเสมือนชีวิตของมนุษย์ที่จะต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ในโลกนี้เหมือนกับนาวาที่ จะต้องฝ่าคลื่นลมมรสุม แดด และฝนในท้องทะเลเพื่อมิให้ล่มจมอยู่กลางทะเลเป็นคติให้คิดเสมอว่า “ชีวิต คือ การต่อสู้”

 

    ดวงดาวกับเรือพาย

 

 

    หมายถึง ความหวังทางด้านจิตใจ ซึ่งศาสนาเป็น “แสงแห่งธรรม” และสรรพวิทยาการที่ได้รับจากสถาบันแห่งนี้เป็น “แสงแห่งปัญญา” รวมกันเป็นดุจดวงประทีปส่องนำทางในชีวิตให้เดินหน้าไปให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายปลายทางของชีวิตได้ด้วยคุณธรรมและปัญญาโดยไม่หลงกลางทะเลของชีวิต รูปคนในเรือพาย ก็คือ ชีวิตของเรานั่นเอง

 

    D หรือ DIVINITY

 

 

    หมายถึง ศาสนา เราทุกคนต้องมีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ เครื่องหมายไม้กางเขนเป็นเครื่องหมายแห่งความรัก และความเสียสละ

 

    S หรือ SCIENCE

 

    หมายถึง วิทยาการ ความรู้ที่ทำให้เรามีเหตุผล คนเราทุกคนควรจะมุ่งหาความรู้อยู่เสมอ ยิ่งเรามีความรู้ฝ่ายโลกมากเท่าใด ก็ยิ่งควรสนใจหาความรู้ฝ่ายธรรมให้มากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ D และ S ยังย่อมาจาก DIEU SEUL (ภาษาฝรั่งเศส) ซึ่งหมายความว่า “จงทำงานทุกอย่าง เพื่อสิริมงคลแด่พระเจ้า” อันเป็นคติพจน์ของนักบุญหลุยส์ มารี เดอ มงฟอร์ต ผู้สถาปนาภราดาคณะเซนต์คาเบรียล ด้วยคติพจน์อันเป็นพลังใจนี้เองจึงทำให้พวกเราไม่ย่อท้อต่อความเหนื่อยยากไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรียนและการทำงาน ซึ่งเรายึดถือปฏิบัติมาจนกระทั่งทุกวันนี้

 

    เป็นยังไงบ้างคะพี่ ๆ เดินทางไม่ยากใช่มั้ยคะ การเดินทางที่กรุงเทพจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ถ้าเราศึกษาเส้นทางดี ๆ ยังไงก็ไม่มีหลงแน่นอน! หลังจากอ่านบทความนี้ น้อง Propso หวังว่าพี่ ๆ จะเดินทางไปถึง ABAC อย่างสวัสดิภาพ บทความหน้าน้อง Propso จะพาไปที่ไหนอย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ บ๊ายบาย

 

    ดู 10 คอนโดใกล้มหาวิทยาลัย

 

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

    มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

    มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)

    มหาวิทยาลัยสยาม

    มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

    มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


 

ข่าวสาร

ข่าวสารจากเว็บไซต์ ดูทั้งหมด